Shopee :
╚═══════════╝
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม เนเธอร์แลนด์ จึงเป็นประเทศแห่ง เกษตรกรรมล้ำหน้า?
ตอน ทำไม เนเธอร์แลนด์ จึงเป็นประเทศแห่ง เกษตรกรรมล้ำหน้า?
“กังหันลม” คือสัญลักษณ์ของประเทศเนเธอร์แลนด์
ซึ่งเป็นตัวแทนของการต่อสู้กับธรรมชาติของชาวดัตช์มาตั้งแต่ยุคโบราณ
ซึ่งเป็นตัวแทนของการต่อสู้กับธรรมชาติของชาวดัตช์มาตั้งแต่ยุคโบราณ
เนเธอร์แลนด์เป็นดินแดนเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของทวีปยุโรป ริมชายฝั่งทะเลเหนือ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีลมแรง และเกิดพายุบ่อยครั้ง
เพื่อป้องกันน้ำท่วมซ้ำซาก และขยายพื้นที่เพาะปลูก ชาวดัตช์จึงทำการปรับพื้นที่ด้วยการสร้างเขื่อน ทางระบายน้ำ และสถานีสูบน้ำจำนวนมาก โดยเขื่อนแห่งแรกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1320
ชาวดัตซ์ยังได้พัฒนากังหันลมแบบต่างๆ เพื่อใช้งานตามที่ต้องการ โดยเฉพาะกังหันลมเพื่อสูบน้ำออก ทำให้เกิดพื้นดินที่เกิดจากการถมทะเล เรียกว่า Polder ซึ่งใช้ในการเพาะปลูกและอยู่อาศัย
ด้วยทำเลที่ตั้งอยู่ปากแม่น้ำไรน์ ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญของยุโรป
เนเธอร์แลนด์ค่อยๆ เติบโตขึ้นจนกลายเป็นศูนย์กลางการค้า ดึงดูดพ่อค้าและนายธนาคารให้มาตั้งรกราก โดยเฉพาะในกรุงอัมสเตอร์ดัม
ด้วยทำเลที่ตั้งอยู่ปากแม่น้ำไรน์ ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญของยุโรป
เนเธอร์แลนด์ค่อยๆ เติบโตขึ้นจนกลายเป็นศูนย์กลางการค้า ดึงดูดพ่อค้าและนายธนาคารให้มาตั้งรกราก โดยเฉพาะในกรุงอัมสเตอร์ดัม
จนเมื่อเกิดการปฏิรูปศาสนาคริสต์ เหล่าพ่อค้าส่วนใหญ่เปลี่ยนมานับถือนิกายโปรเตสแตนต์
เหตุผลหนึ่งเพราะไม่ต้องการจ่ายภาษีบำรุงให้ศาสนจักรคาทอลิก
ในเวลานั้น เนเธอร์แลนด์ยังไม่ใช่ดินแดนเอกราช แต่ยังเป็นอาณานิคมของสเปนซึ่งเป็นอาณาจักรที่นับถือคาทอลิก
เหตุผลหนึ่งเพราะไม่ต้องการจ่ายภาษีบำรุงให้ศาสนจักรคาทอลิก
ในเวลานั้น เนเธอร์แลนด์ยังไม่ใช่ดินแดนเอกราช แต่ยังเป็นอาณานิคมของสเปนซึ่งเป็นอาณาจักรที่นับถือคาทอลิก
ด้วยความขัดแย้งทางศาสนาเป็นชนวนสำคัญ ชาวดัตช์จึงรวมตัวกันขับไล่สเปน
โดยมีผู้นำ คือ วิลเลิมแห่งออเรนจ์ (William of Orange) ผู้ซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็น
บิดาของเนเธอร์แลนด์ จนในที่สุดก็สามารถก่อตั้งสาธารณรัฐดัตช์ได้สำเร็จ
โดยมีผู้นำ คือ วิลเลิมแห่งออเรนจ์ (William of Orange) ผู้ซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็น
บิดาของเนเธอร์แลนด์ จนในที่สุดก็สามารถก่อตั้งสาธารณรัฐดัตช์ได้สำเร็จ
ในเวลานั้นมีชาวเมืองไลเดิน (Leiden) เมืองเล็กๆ ทางตอนใต้ของกรุงอัมสเตอร์ดัม เป็นหนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการต่อสู้กับสเปน วิลเลิมแห่งออเรนจ์จึงอยากมอบของขวัญให้กับชาวเมือง โดยให้เลือกระหว่าง “การลดภาษี” กับ “มหาวิทยาลัย”
แล้วชาวเมืองไลเดินก็เลือกมหาวิทยาลัย..
นับเป็นจุดเริ่มต้นของมหาวิทยาลัยแห่งแรกของเนเธอร์แลนด์ คือ มหาวิทยาลัยไลเดิน (Universiteit Leiden) ที่ถูกก่อตั้งในปี ค.ศ. 1575
มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นที่ตั้งของสวนพฤกษศาสตร์แห่งไลเดิน, Hortus Botanicus Leiden
ซึ่งเป็นสวนพฤกษศาสตร์สมัยใหม่แห่งแรกของโลก ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1590 โดยนักพฤกษศาสตร์ Carorus Clusius ซึ่งมีจุดประสงค์แรกเพื่อใช้เพาะปลูกพืชสมุนไพร และเริ่มมีการพัฒนาการปลูกพืชในเรือนกระจกเพื่อใช้ปลูกพืชเขตร้อนในปี ค.ศ. 1599
มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นที่ตั้งของสวนพฤกษศาสตร์แห่งไลเดิน, Hortus Botanicus Leiden
ซึ่งเป็นสวนพฤกษศาสตร์สมัยใหม่แห่งแรกของโลก ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1590 โดยนักพฤกษศาสตร์ Carorus Clusius ซึ่งมีจุดประสงค์แรกเพื่อใช้เพาะปลูกพืชสมุนไพร และเริ่มมีการพัฒนาการปลูกพืชในเรือนกระจกเพื่อใช้ปลูกพืชเขตร้อนในปี ค.ศ. 1599
หลังจากขับไล่อิทธิพลของสเปนออกไปได้ ก็เปิดฉากยุคทองของเนเธอร์แลนด์ในศตวรรษที่ 17
พ่อค้าชาวดัตช์ก็เริ่มออกเดินเรือไปทำการค้าขายทั่วโลก รวมถึง “กรุงศรีอยุธยา” ที่รู้จักชาวดัตช์ภายใต้ชื่อ
“ชาวฮอลันดา” โดยมีผู้นำคือบริษัทดัตช์ อีสต์ อินเดีย หรือ VOC
“ชาวฮอลันดา” โดยมีผู้นำคือบริษัทดัตช์ อีสต์ อินเดีย หรือ VOC
ซึ่งเหล่าพ่อค้าของ VOC ก็ได้เก็บตัวอย่างพืชเขตร้อนกลับมาไว้ในเรือนกระจกของสวนพฤกษศาสตร์ไลเดินด้วย
มหาวิทยาลัยไลเดินจึงนับเป็นสถาบันเพื่อการศึกษาทางพฤกษศาสตร์แห่งแรกของยุโรป
มีการพัฒนาการศึกษาในเรื่องต้นไม้อย่างเป็นระบบ ทั้งการเก็บตัวอย่างส่วนประกอบของพืช การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การทำสวน ไปจนถึงการดูแลดอกไม้
เมื่อมีการนำเข้าดอกทิวลิปมาจากจักรวรรดิออตโตมัน สวนพฤกษศาสตร์แห่งไลเดินก็สามารถทำให้ดอกทิวลิปแพร่พันธุ์ได้โดยใช้เวลาไม่นาน
มีการพัฒนาการศึกษาในเรื่องต้นไม้อย่างเป็นระบบ ทั้งการเก็บตัวอย่างส่วนประกอบของพืช การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การทำสวน ไปจนถึงการดูแลดอกไม้
เมื่อมีการนำเข้าดอกทิวลิปมาจากจักรวรรดิออตโตมัน สวนพฤกษศาสตร์แห่งไลเดินก็สามารถทำให้ดอกทิวลิปแพร่พันธุ์ได้โดยใช้เวลาไม่นาน
ดอกไม้สีสันสดใสรูปร่างประหลาดไปเตะตานักลงทุนเข้า ทำให้มีการเก็งกำไรหัวทิวลิปในราคาสูง และสุดท้ายก็ราคาร่วงลงอย่างรวดเร็ว จนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งนับเป็น “ฟองสบู่แรกของมนุษยชาติ”
องค์ความรู้ด้านการปลูกพืชในเรือนกระจกที่ทำให้อุณหภูมิภายในสูงขึ้น ทำให้เนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นประเทศเขตหนาวสามารถเพาะปลูกพืชเขตอบอุ่นได้ เช่น ส้ม และสับปะรด
แต่อย่างไรก็ตาม ผลผลิตทางการเกษตรยังคงจำกัดอยู่ในสถาบันและพ่อค้าที่ร่ำรวย
แต่อย่างไรก็ตาม ผลผลิตทางการเกษตรยังคงจำกัดอยู่ในสถาบันและพ่อค้าที่ร่ำรวย
จนเมื่อมีการก่อตั้งวิทยาลัยเกษตรแห่งชาติ ในเมืองวาเคอนิงเงิน ในปี ค.ศ. 1876
ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยวาเคอนิงเงิน (Wageningen University & Research)
ก็ได้เริ่มให้ความสำคัญกับการปศุสัตว์ และพัฒนากระบวนการเพาะปลูกมากขึ้น โดยเฉพาะไม้ดอกไม้ประดับ
ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยวาเคอนิงเงิน (Wageningen University & Research)
ก็ได้เริ่มให้ความสำคัญกับการปศุสัตว์ และพัฒนากระบวนการเพาะปลูกมากขึ้น โดยเฉพาะไม้ดอกไม้ประดับ
นอกจากการเพาะปลูกแล้ว ชาวดัตช์ยังพัฒนาการจัดการและการกระจายสินค้าเกษตร
ด้วยการริเริ่มสิ่งที่เรียกว่า “การประมูลดอกไม้”
ด้วยการริเริ่มสิ่งที่เรียกว่า “การประมูลดอกไม้”
ในปี ค.ศ. 1911 เกษตรกรในเมืองอัลสเมียร์ ทางตอนใต้ของกรุงอัมสเตอร์ดัม ได้รวมกันริเริ่มประมูลราคาดอกไม้ในคาเฟ่เล็กๆ
ต่อมาเมื่อมีการเปิดใช้งานสนามบินนานาชาติสคิปโฮล (Amsterdam Airport Schiphol)
ซึ่งเป็นสนามบินหลักที่ใหญ่ที่สุดของเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเมืองอัลซเมียร์
ทำให้อัลซเมียร์เริ่มกลายเป็นศูนย์กลางการขนส่งและประมูลดอกไม้ของยุโรป และมีการจัดตั้งตลาดอัลซเมียร์ เพราะการค้าไม้ดอกนั้นจำเป็นต้องขนส่งทางอากาศเพื่อรักษาความสดใหม่
ซึ่งเป็นสนามบินหลักที่ใหญ่ที่สุดของเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเมืองอัลซเมียร์
ทำให้อัลซเมียร์เริ่มกลายเป็นศูนย์กลางการขนส่งและประมูลดอกไม้ของยุโรป และมีการจัดตั้งตลาดอัลซเมียร์ เพราะการค้าไม้ดอกนั้นจำเป็นต้องขนส่งทางอากาศเพื่อรักษาความสดใหม่
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนากิจการประมูลดอกไม้
ด้วยการรวมผู้ปลูกดอกไม้หลายพันรายทั่วเนเธอร์แลนด์เข้าไว้ด้วยกัน
วางระบบตรวจสอบคุณภาพของดอกไม้จากผู้ปลูก
จัดโกดังขนาดใหญ่ไว้จัดเก็บดอกไม้ พัฒนาระบบโลจิสติกส์
ทั้งการขนส่งดอกไม้จากสนามบินมาเก็บไว้ที่โกดัง และส่งไปยังสนามบิน
ด้วยการรวมผู้ปลูกดอกไม้หลายพันรายทั่วเนเธอร์แลนด์เข้าไว้ด้วยกัน
วางระบบตรวจสอบคุณภาพของดอกไม้จากผู้ปลูก
จัดโกดังขนาดใหญ่ไว้จัดเก็บดอกไม้ พัฒนาระบบโลจิสติกส์
ทั้งการขนส่งดอกไม้จากสนามบินมาเก็บไว้ที่โกดัง และส่งไปยังสนามบิน
รวมถึงคิดค้น “การประมูลแบบดัตช์ (Dutch Auction)” สำหรับการประมูลดอกไม้โดยเฉพาะ
ซึ่งเป็นการประมูลที่ต้องทำโดยใช้เวลาน้อยที่สุดเพื่อรักษาความสดของดอกไม้
โดยจะเริ่มขานจากราคาที่สูงที่สุด เช่น ดอกกุหลาบช่อละ 20 ยูโร และค่อยๆ ลดระดับราคาลงมาเรื่อยๆ จนกว่าจะมีผู้ซื้อที่สู้ราคาไหว และการขานรับจะทำเพียงครั้งเดียว
ซึ่งเป็นการประมูลที่ต้องทำโดยใช้เวลาน้อยที่สุดเพื่อรักษาความสดของดอกไม้
โดยจะเริ่มขานจากราคาที่สูงที่สุด เช่น ดอกกุหลาบช่อละ 20 ยูโร และค่อยๆ ลดระดับราคาลงมาเรื่อยๆ จนกว่าจะมีผู้ซื้อที่สู้ราคาไหว และการขานรับจะทำเพียงครั้งเดียว
กระบวนการนี้ต่างจากการประมูลทั่วไป ที่มีการขานราคาใหม่เพิ่มไปเรื่อยๆ และใช้เวลานาน
ด้วยการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการประมูล ระบบโลจิสติกส์ และการตรวจสอบคุณภาพของสินค้า ทำให้ตลาดอัลซเมียร์ ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า ทั้งเกษตรกร และเจ้าของกิจการร้านดอกไม้ จนเมืองอัลซเมียร์ได้รับสมญานามว่าเป็น “เมืองหลวงดอกไม้ของโลก”
โดยมีบริษัท Royal FloraHolland เป็นผู้ควบคุมการประมูลดอกไม้ และการบริหารโลจิสติกส์ในตลาดอัลซเมียร์
แต่การให้ความสำคัญกับไม้ดอกไม้ประดับมากเกินไป ทำให้เนเธอร์แลนด์เกิดปัญหาขาดแคลนพืชอาหารในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
Sicco Mansholt รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของเนเธอร์แลนด์ในช่วงปี ค.ศ. 1945 - 1958
ออกนโยบายเปลี่ยนแนวทางการเกษตรให้เป็นไปในเชิงธุรกิจ และให้ความสำคัญ
กับความยั่งยืนของผลผลิตอาหารมากขึ้น
ออกนโยบายเปลี่ยนแนวทางการเกษตรให้เป็นไปในเชิงธุรกิจ และให้ความสำคัญ
กับความยั่งยืนของผลผลิตอาหารมากขึ้น
ในปี ค.ศ. 1963 รัฐบาลเนเธอร์แลนด์จัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนภาคการเกษตร
โดยมีเป้าหมายคือการช่วยเหลือตั้งแต่การเริ่มต้นอาชีพ ขายสินค้า ไปจนถึงการให้ทุนวิจัยและพัฒนาการทำเกษตรกรรมที่มีประสิทธิภาพและให้ผลผลิตได้มากขึ้น
โดยมีเป้าหมายคือการช่วยเหลือตั้งแต่การเริ่มต้นอาชีพ ขายสินค้า ไปจนถึงการให้ทุนวิจัยและพัฒนาการทำเกษตรกรรมที่มีประสิทธิภาพและให้ผลผลิตได้มากขึ้น
โดยมีมหาวิทยาลัยวาเคอนิงเงินเป็นผู้นำในการวิจัยและพัฒนา และร่วมมือกับภาคเอกชนในการนำงานวิจัยมาปรับใช้ ทั้งการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช การปลูกพืชในเรือนกระจก
การเปลี่ยนแปลงจากการใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลงมาสู่เกษตรอินทรีย์
ไปจนถึงการปรับปรุงพันธุ์ในระดับโมเลกุล
การเปลี่ยนแปลงจากการใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลงมาสู่เกษตรอินทรีย์
ไปจนถึงการปรับปรุงพันธุ์ในระดับโมเลกุล
ความร่วมมืออย่างแนบแน่นระหว่างภาครัฐและเอกชน
ทำให้เกิดบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางการเกษตรมากมายในเนเธอร์แลนด์
ทำให้เกิดบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางการเกษตรมากมายในเนเธอร์แลนด์
ทั้ง Koppert Biological Systems ผู้นำด้านการควบคุมศัตรูและโรคพืชด้วยชีววิธี
มีผลิตภัณฑ์ เช่น ตัวอ่อนแมลงเต่าทองที่คอยกำจัดเพลี้ย
มีผลิตภัณฑ์ เช่น ตัวอ่อนแมลงเต่าทองที่คอยกำจัดเพลี้ย
Duijvestijn Tomaten ผู้นำด้านการปลูกมะเขือเทศในเรือนกระจกโดยใช้ระบบไฮโดรโปนิกส์ หรือการปลูกพืชแบบไร้ดิน ที่ช่วยลดการใช้น้ำลงจากการเพาะปลูกแบบปกติ และมีการควบคุมอุณหภูมิในเรือนกระจกด้วยพลังงานความร้อนใต้พิภพ
AgroExact บริษัทเทคโนโลยีผู้สร้างระบบตรวจสอบและเฝ้าติดตามคุณภาพดิน และสภาพอากาศสำหรับเกษตรกรในราคาไม่แพง
ด้วยองค์ความรู้ด้านการเกษตรที่เข้มแข็ง
การให้ความช่วยเหลือจากภาครัฐ
ความร่วมมือกันระหว่างภาควิชาการกับเอกชน
ประกอบกับการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ทำให้เนเธอร์แลนด์สามารถส่งออกผลผลิตหลากหลายในปริมาณมากเป็นอันดับ 2 ของโลก
โดยใช้ทรัพยากรน้อยกว่า ควบคุมปัจจัยในการเพาะปลูกได้โดยไม่ต้องกังวลว่าดินฟ้าอากาศจะเป็นเช่นไร
การให้ความช่วยเหลือจากภาครัฐ
ความร่วมมือกันระหว่างภาควิชาการกับเอกชน
ประกอบกับการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ทำให้เนเธอร์แลนด์สามารถส่งออกผลผลิตหลากหลายในปริมาณมากเป็นอันดับ 2 ของโลก
โดยใช้ทรัพยากรน้อยกว่า ควบคุมปัจจัยในการเพาะปลูกได้โดยไม่ต้องกังวลว่าดินฟ้าอากาศจะเป็นเช่นไร
และด้วยทำเลที่ดี ความเชี่ยวชาญด้านการค้ามานาน ทำให้เนเธอร์แลนด์สามารถต่อยอดมูลค่าของสินค้า จากต้นน้ำ คือการเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตร มาสู่การให้บริการปลายน้ำ
คือเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าเกษตรที่สำคัญของโลก
คือเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าเกษตรที่สำคัญของโลก
ในวันนี้ กังหันลมหลายแห่งไม่ได้ทำหน้าที่เดิมแล้ว
แต่ยังคงตั้งตระหง่านเพื่อเป็นประจักษ์พยาน
ถึงความพยายามเกือบพันปีของเกษตรกรชาวดัตช์
ผู้พัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรอันล้ำหน้า ที่ไม่ต้องมานั่งรอฟ้าหรือดินลิขิต
แต่เลือกกำหนดชะตาชีวิตด้วยสมอง และสองมือของตัวเอง
เนเธอร์แลนด์..
แต่ยังคงตั้งตระหง่านเพื่อเป็นประจักษ์พยาน
ถึงความพยายามเกือบพันปีของเกษตรกรชาวดัตช์
ผู้พัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรอันล้ำหน้า ที่ไม่ต้องมานั่งรอฟ้าหรือดินลิขิต
แต่เลือกกำหนดชะตาชีวิตด้วยสมอง และสองมือของตัวเอง
เนเธอร์แลนด์..
อ่านซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ในตอนก่อนหน้าทั้งหมดได้ที่แอป Blockdit
----------------------
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ.1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ.2019
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada :
Shopee :
----------------------
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website -
Blockdit -
Facebook -
Twitter -
Instagram -
Line -
YouTube -
ในตอนก่อนหน้าทั้งหมดได้ที่แอป Blockdit
----------------------
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ.1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ.2019
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada :
Shopee :
----------------------
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website -
Blockdit -
Facebook -
Twitter -
Instagram -
Line -
YouTube -
References
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-